กฏหมายคอมพิวเตอร์ที่ควรรู้

กฏหมายคอมพิวเตอร์ที่ควรรู้

ขออนุญาติเพื่อนำมาลงไห้ทุกคนได้เข้าใจกฎ
ให้ทุกเว็บ (Webmaster) ทำ Log Trafic ไว้ด้วย ซึ่งจะบังคับใช้ต่อไป

และได้พูดถึงการมีผลของกฏหมายทางคอมพิวเตอร์ที่เป็นคดีความกันในปัจจุบัน

กระทู้นี้จึงรวมรวบทุกอย่างเกี่ยวกับ  พรบ.คอมพิวเตอร์  พ.ศ. 2550 ในทางปฏิบัติไว้ครบถ้วน

และอัพเดตให้สม่ำเสมอเมื่อมีกรณีเกิดขึ้น  โปรดติดตามเรื่อยๆ นะครับ


เริ่มจาก..เนื้อหาของ พรบ.


พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มีแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับผู้ใช้

บริการอินเตอร์เน็ต

ในส่วนของสิ่งต้องห้ามปฏิบัติดังนี้


1.การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ (มาตรา 5) เช่น การใช้โปรแกรมสปายแวร์ขโมยข้อมูลรหัส

ผ่านส่วนบุคคลของผู้อื่นเพื่อใช้บุกรุกเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้นั้นโดยไม่ได้รับอนุญาต มี

โทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2.การล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงและนำไปเปิดเผยโดยมิชอบ (มาตรา 6) เช่น การใช้โปรแกรม 

Keystroke แอบบันทึกการกดรหัสผ่านของผู้อื่นแล้วนำไปโพสต์ในเว็บบอร์ดต่างๆเพื่อให้บุคคลที่สามใช้

เป็นรหัสผ่านเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ที่เป็นเหยื่อ โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสอง

หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3.การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ (มาตรา 7) เช่น การกระทำใดๆเพื่อเข้าถึงแฟ้มข้อมูลที่เป็น

ความลับโดยไม่ได้รับอนุญาต ด้วยการแอบเจาะเข้าระบบรักษาความปลอดภัย (hack) ไปล้วงข้อมูลของ

เขาโดยเขาไม่อนุญาต โทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

4.การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ (มาตรา 8) หรือ การดักรับข้อมูลของผู้อื่นในระหว่างการส่ง เช่น 

การใช้โปรแกรมสนิฟเฟอร์แอบดักชุดข้อมูลที่อยู่ระหว่างการส่งไปให้ผู้รับ มีโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือ

ปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

5.การรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ (มาตรา 9 และ 10) เช่น การแอบส่ง

ไวรัส หนอนอินเตอร์เน็ต หรือโทรจัน เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น จนทำให้ข้อมูลหรือระบบของ

เขาเสียหาย โทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

6.การส่งสแปมเมล์ (spam) หรืออีเมล์ขยะ (มาตรา 11) ความผิดตามข้อมูลนี้เพิ่มเติมขึ้นมาเพื่อให้

ครอบคลุมถึงการส่งสแปมเมล์ ซึ่งเป็นลักษณะการกระทำความผิดที่ใกล้เคียงกับมาตรา 10 และยัง

เป็นการทำความผิดโดยการใช้โปรแกรมหรือข้อความส่งไปให้เหยื่อจำนวนมากๆโดยปกปิดแหล่งที่มา 

เช่น ไอพีแอดเดรส (IP address) ซึ่งมักก่อให้เกิดความเสียหายต่อการใช้คอมพิวเตอร์ ยกตัวอย่างเช่น 

การโฆษณาขายสินค้าทางอีเมล์ ที่ชอบส่งซ้ำๆจนทำให้เขาเบื่อหน่ายรำคาญ มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสน

บาท

7.การกระทำความผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ (มาตรา 12) 

การรบกวนหรือเจาะระบบและข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนหรือกระทบต่อ

ความมั่นคงของประเทศความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจและการบริการสาธารณะ 

มีโทษหนักจำคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท

8.การจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อใช้กระทำความผิด (มาตรา 13) เช่น การสร้างซอฟต์แวร์เพื่อ

ช่วยให้ผู้ใดทำเรื่องที่เป็นความผิดในข้อข้างต้น โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท 

หรือทั้งจำทั้งปรับ

9.การปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมและการรับผิดของผู้ให้บริการ 

(มาตรา 14 และมาตรา 15) สองมาตรานี้เป็นลักษณะที่เกิดจากการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นเท็จ

หรือมีเนื้อหาไม่เหมาะสมในรูปแบบต่างๆ โดยมาตราที่ 14 กำหนดครอบคลุมถึงการปลอมแปลงข้อมูล

คอมพิวเตอร์ หรือสร้างข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือก่อให้เกิด

ความตื่นตระหนกแก่ประชาชน หรือเป็นข้อมูลที่กระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือก่อการร้าย รวมทั้ง

ข้อมูลลามกอนาจาร และส่งต่อข้อมูลที่เป็นความผิดตามที่กล่าวไว้ข้างต้น เช่น การส่งภาพโป๊เปลือย 

ลามก หรือข้อความไม่เหมาะสมที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือข้อความที่เกี่ยวกับความมั่นคง

ของประเทศ หรือข้อความใส่ร้าย กล่าวหาผู้อื่น ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การโพสต์ทางกระดาน

สนทนาและบล็อกต่างๆ มีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ในส่วนของมาตราที่ 15 มีการกำหนดโทษของผู้ให้บริการซึ่งหมายถึงบริษัทที่ยินยอมให้มีการกระ

ทำความผิดตามที่กล่าวข้างต้นต้องรับโทษด้วยเช่นกันหากไม่ระงับการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว

10.การเผยแพร่ภาพจากการตัดต่อหรือดัดแปลงให้ผู้อื่นถูกดูหมิ่น หรืออับอาย (มาตรา 16) เป็นการ

กำหนดฐานความผิดในเรื่องของการตัดต่อภาพของบุคคลอื่นที่อาจทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดู

หมิ่น เกลียดชังหรือได้รับความอับอาย โทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำ

ทั้งปรับ แต่ความผิดตามมาตรานี้เหมือนกับความผิดฐานหมิ่นประมาทคือ ยอมความกันได้

11.การกระทำความผิดนอกราชอาณาจักรต้องรับโทษในราชอาณาจักร ข้อนี้เกี่ยวกับการนำตัวผู้กระทำ

ผิดมาลงโทษ หากมีการทำความผิดนอกประเทศ แต่ความเสียหายเกิดขึ้นในประเทศ หรือแม้ความเสีย

หายเกิดนอกประเทศ แต่ผู้กระทำความผิดเป็นคนไทย ถ้ามีผู้เสียหายร้องขอให้ลงโทษก็สามารถนำตัวผู้

กระทำผิดมาลงโทษได้และจะต้องรับโทษในราชอาณาจักร

พ.ร.บ.ฉบับนี้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2550 และมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่

วันที่ 18 กรกฎาคม 2550

ใช้อินเตอร์เน็ตหรือโพสต์ข้อความอะไรก็ระมัดระวังกันหน่อยนะครับ

กรณีตัวอย่าง..การตีความของศาล..การดำเนินคดี..และมูลเหตุแห่ง พรบ.

รวมถึงหลากหลายเรื่องราว  ติดตามได้คำตอบแนบเรื่องครับ

อัพเดตเรื่อยๆ ติดตามกันได้ตลอดครับ

ขอบพระคุณที่ร่วมแบ่งปันความรู้และมิตรภาพ:-)

การเมื่องร้อน  สีสันละลานเมือง  หน่วยงานราชการจึงเวียนเมลออกแจ้ง

ใครได้รับเมลฉบับนี้....คือของจริงนะครับ


เรียนท่านผู้ใช้ อีเมล์ และ อินเทอร์เน็ต ที่เคารพทุกท่าน

ทุกครั้งที่ท่าน รับ-ส่ง อีเมล์ กรุณาใช้วิจารณญาณด้วยว่า ข้อความ หรือ ภาพ

นั้น จะเท็จ จะจริง หรือไม่ อย่างไรก็แล้วแต่

1. อาจก่อความเสียหายให้ ผู้หนึ่งผู้ใดหรือไม่

2. อาจสร้างความตื่นตระหนก ตกใจกลัว แก่คนทั่วไปหรือไม่

3. อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ สถาบัน หรือเป็นความผิดด้านการก่อการร้ายหรือไม่

4. มีเนื้อหา ภาพ อันเป็นลามก หรือไม่

หากท่านคิดว่าใช่ แต่ก็ยัง เผยแพร่ ส่งต่อ(Forward) ยังไปพรรคพวก เพื่อนฝูง

ญาติมิตร ด้วยกลัวว่า บุคคลเหล่านั้น อาจตกข่าว และท่านเองอาจคิด ภูมิใจ

ไปว่าเป็นคนแรกๆที่รู้ข่าว และเอื้อเฟื้อต่อ ญาติมิตร หรือท่านอาจนำ ข้อความ

หรือ ภาพ ที่ได้รับมานั้น นำไปเผยแพร่ลงใน เว็บบอร์ด ในเว็บไซต์ต่างๆ นั้น

ท่านทราบหรือไม่ว่า ท่านอาจทำผิดกฎหมาย โดยรู้เท่าไม่ถึงการ

และด้วยความไม่รู้ทางเทคนิค อาจนำภัย ไปสู่ พรรคพวก เพื่อนฝูง

ที่ได้ส่งข้อความ ภาพ นั้น มายังท่านด้วย เพราะสามารถตรวจสอบได้ว่าง่ายว่า

ใครส่งต่อไปหาใคร ใครได้รับ แล้วส่งต่อไปหาใครต่อ.... อาจต้องรับโทษ จำคุก

ไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เพราะ

ตามกฎหมายใหม่ " พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

พ.ศ.๒๕๕๐ " ได้กำหนดโทษเกี่ยวกับ การนำเข้า/เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม

ไว้ดังนี้

มาตรา ๑๔   ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

หรือทั้งจำทั้งปรับ

 (๑)นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ

โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

 (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ

โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่

ประชาชน

 (๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ

อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวล

กฎหมายอาญา

 (๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก

และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้

 (๕)เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม

(๑) (๒) (๓) หรือ (๔)

สรุป

ดังนั้น ทุกครั้งที่ท่านได้รับ อีเมล์ ข่าว เนื้อความ หรือ ภาพ

มาจากอินเทอร์เน็ต ก่อนที่ท่าน จะ เผยแพร่ ส่งต่อ(Forward) ยังไปพรรคพวก

เพื่อนฝูง ญาติมิตร หรือท่านจะนำ ข้อความ หรือ ภาพ ที่ได้รับมานั้น

ไปเผยแพร่ลงใน เว็บบอร์ด ในเว็บไซต์ต่างๆ นั้น กรุณาใช้วิจารณญาณ ก่อนด้วยว่า

ไม่ว่า ข้อความ/ ภาพ นั้น จะเท็จ จะจริง หรือไม่อย่างไรก็ตาม

1. อาจก่อความเสียหายให้ ผู้หนึ่งผู้ใดหรือไม่

2. อาจสร้างความตื่นตระหนก ตกใจกลัว แก่คนทั่วไปหรือไม่

3. อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ สถาบัน หรือเป็นความผิดด้านการก่อการร้าย

หรือไม่

4. มี เนื้อหา/ภาพ อันเป็นลามก หรือไม่

ถ้าคิดแล้ว เห็นท่าจะไม่ค่อยดี  ก็อย่า Forward ไปเลยครับ ไม่เช่นนั้นแล้ว

ท่านและพรรคพวก เพื่อนฝูง ของท่าน อาจกระทำความผิดโดย รู้เท่าไม่ถึงการ ตาม

พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา 14 (5)

ด้วยความเคารพ

พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน

ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ

กรมสอบสวนคดีพิเศษ DSI กระทรวงยุติธรรม

ขออนุญาตินำมาลงเพื่อความเข้าใจและขอคอบคุณจาก googleกูลูที่มา กรมสอบสวนคดีพิเศษ DSI กระทรวงยุติธรรม